วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

PowerSupply















เพาเวอร์ซัพพลาย

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะทำงานได้ต้องมีแหล่งจ่ายไฟให้พลังงาน ซึ่งต้องอาศัย power supply เป็นตัวจ่ายไฟให้กับเครื่องดัวนั้นหากอุปกรณ์ตัวนี้มีปัญหาหรือเสีย ซึ่งทำให้เราปวดหัวได้เหมือนกัน
power supply คือpower supply เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรง เพื่อจ่าย ให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ และซีดีรอมไดร์หาก power supply มีคุณภาพดีจ่ายกระแสไฟได้เที่ยงตรง ถูกต้อง ให้กับอุปกรณ์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้ดีไปด้วย หากการจ่ายไฟไม่เที่ยงตรงสม่ำเสมอ ก็จะทำให้การ ทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีปัญหาไปด้วย

ปัญหาของ power supply

power supply เป็นอุปกรณ์ที่อาจสร้างปัญหาให้กับเครื่องของเราได้ หาก power supply เสียก็มักไม่ซ่อมกันเพราะไม่คุ้ม เพราะราคาของไหม่เพียง 500-800 บาทเท่านั้น แต่ก็มีอาการเสียขอลคอมพิวเตอร์หลายอย่างที่มักเกี่ยวข้องกับ power supply ด้วยเช่นกันเครื่องทำงาน รวน ตรวจเช็คอุปกรณ์มนเครื่องแล้วไม่เสีย อยากทราบสาเหตุอาการแบบนี้เป็นอาการเสียที่มักคาดไม่ถึง เพราะหาสาเหตุยากเนื่องจากช่างส่วนใหญ่จะคิดว่าอาการรวนของเครื่องมาจาก แรม ซีพียู เมนบอร์ด เท่านั้น แต่ไม่ได้นึกถึง Power supply จึงข้ามการตรวจสอบในส่วนนี้ไป หากนำ Power supply ที่สงสัยมาตรวจวัดมาตรวจวัดแรงดันไฟจะพบว่าจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอซึ่งมีสาเหตุมาจากชำรุดเพราะใช้งานมานานหรือใช้ ชิ้นส่วน ราคาถูก จึงทำให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง แรม ซีพียู เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ พลอยทำงานไม่ได้ไปด้วย ซึ่งการแก้ไขก็คือให้เปลี่ยน Power supply ตัวใหม่ เครื่องก็จะทำงานได้ดีดังเดิม

สำหรับวิธีตรวจวัดแรงดันไฟของ Power supply มีดังนี้

1. ถอด Power supply และสายขั้วต่อจ่ายไฟที่โหลดให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดออกและนำออกมาจากเคส
2. ปลอกสายไฟเส้นเล็กทั้งสองข้าง และนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับช่องต่อของสายเส้นสีเขียวและอีกข้างหนึ่งเสียบเข้ากับช่องต่อของสายเส้นสีดำของขั้วจ่ายไฟ สำหรับ เมนบอร์ดของ Power supply
3. นำสายจ่ายไฟจาก Power supply เสียบเข้ากับขั้วรับไฟของซีดีรอมไดร์เพื่อยึดการ์ดแลนเข้ากับอุปกรณ์
4. นำสายไฟเข้ากับขั้วรับท้าย Power supply และนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟบ้าน
5. นำขั้ววัดไฟลบ (สายสีดำ) ไปเสียบเข้ากับจ่ายไฟสายสีดำและขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ไปเสียบเข้ากับขั้วจ่ายไฟสายสีเหลืองเพื่อ จะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 12 V.ถูกต้องหรือไม่
6. เปลี่ยนขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ของมิเตอร์ไปเสียบเข้ากับขัวจ่ายไฟสายสีแดง ส่วนขั้ววัดไฟลบของมิเตอร์ยังคงอยู่ในตำแหน่ง เดิมเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 5 V.ถูกต้องหรือไม่
7. หาพบว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาสูงเกินหรือต่ำกว่า 5, 12 V. มากเกินไป แสดงว่าเสียให้เปลี่ยนตัว ใหม่แทน เครื่องก็ จะทำงานได้ตามปกติ

พัดลมระบายความร้อนของ Power Supply เสียเปลี่ยนอย่างไร
สำหรับผู้ที่เคยพบปัญหาเปิดเครื่องไม่ติด ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่องทั้งหมดแล้วไม่เสีย จึงถอด Power Supply มาดู (สังเกตดูด้านหลังเครื่องก็ได้) พบว่าพัดลม Power Supply ไม่หมุน แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
สำหรับการแก้ไข คือ ต้องหาซื้อพัดลมตัวใหม่มาเปลี่ยนในราคาตัวละประมาณ 80 - 100 บาท โดยแกะฝา Power Supply และถอดพัดลมตัวเก่าออก และทำการบัดกรีเพื่อเชื่อมสายพัดลมตัวใหม่เข้าบวงจร โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เปิดฝาครอบ Power Supply ออกและถอดพัดลมระบายความร้อนตัวเดิมออก โดยใช้คีมตัดสายไฟพัดลมตัวเดิมออก จากวงจร
2. นำพัดลมระบายความร้อนตัวใหม่ที่เตรียมไว้ใส่แทนโดยทำการบัดกรีจุดเชื่อมต่อสายไฟใหม่ด้วยหัวแร้งพร้อมตะกั่วบัดกรี ให้เชื่อมให้สนิทกัน
3. ใช้เทปพันสายไฟพันปิดรอยเชื่อมต่อเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร แล้วปิดฝาเครื่องนำไปประกอบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ และลองเปิดดู

การเปลี่ยน Power Supply แบบ ATX กรณีใช้เคส AT

ภาพแสดง ATX Power Supply จากภาพสังเกตว่า Power Supply แบบ ATX นั้นแตกต่างจาก Power Supply แบบปกติ สวิตช์หลักของ ATX จะอยู่บริเวณตัวถัง ของภาคจ่ายไฟ (Housing of Power Supply) แทนที่จะต่อออกมา ด้วยสายเคเบิ้ล แล้วต่อสวิตช์รีเลย์ควบคุมเหมือนภาคจ่ายไฟ ด้วยวิธีนี้ เมื่อใดก็ตามที่สวิตช์หลักทางด้านหลัง Power Supply กดอยู่ในตำแหน่ง เปิดภาคจ่ายไฟ จะอยู่ในภาวะ Standby พร้อมจ่ายไฟทันทีและจะทำงานสมบูรณ์แบบต่อเมื่อ มีสัญญาณ จากเมนบอร์ดส่งผ่านสาย 5 Volt Standby

จากการทดสอบพบว่าบนเมนบอร์ดจะมีคอนเนคเตอร์สำหรับ Power ATX ปกติเคส ATX จะมีสายไฟสำหรับ Power ATX เข้ามาต่อที่ตำแหน่งดังกล่าว เมื่อกดปุ่มสวิตช์คอมพิวเตอร์จะทำให้สถานะของ Power ATX อยู่ในสถานะ On และคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ อย่างไรก็ตามสำหรับเคสแบบ AT นั้น ไม่มีสายไฟและคอนเนคเตอร์ดังกล่าว ทำให้ประสบปัญหาคือจะเอาสวิตช์ที่ไหนมาควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ครั้งหนึ่งในระหว่างการทดสอบเมนบอร์ด AT baby ที่สามารถต่อกับ ATX Power Supply ผมพบว่าเมื่อเปลี่ยนเอา AT Power Supply ออก แล้วเอา ATX Power Supply มาใส่ จะไม่มีสวิตช์สำหรับเปิดคอมพิวเตอร์ แต่ในเคสจะมีสายไฟสำหรับปุ่ม reset และ SMI Green Mode ซึ่งเมื่อพิจารณาการทำงานของ ATX ก็น่าจะนำเอาเข้ามาต่อกับคอนเนคเตอร์ของ Power ATX ได้ จึงนำสายไฟที่มีคอนเนคเตอร์สำหรับ Reset มาต่อเข้ากับตำแหน่ง Power ATX บนเมนบอร์ด และพบว่าสามารถใช้งานควบคุมการปิดเปิดคอมพิวเตอร์ได้ แต่ไม่สามารถใช้ควบคุม ตามฟังก์ชั่น Dual Power Supply ได้ การใช้งานสวิตช์ดังกล่าวก็คือกดปุ่ม Reset (หรือ SMI Green Mode ขึ้นอยู่กับว่านำเอาสายไฟของอะไรไปเสียบลงบน Male connector ของ Power ATX บนเมนบอร์ด อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวทำให้เปิดสวิตช์เครื่องได้ แต่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถาวร การแก้ไขปัญหาเมื่อต้องการเปลี่ยนภาคจ่ายไฟ ATX สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้เคส AT ก็คือ หาซื้อสวิตช์รีเลย์มาประยุกต์เพิ่มเติมจะได ้ประสิทธิภาพของ ATX Power Supply

ข้อควรคำนึงเมื่อใช้ Power Supply แบบ ATX

จากผลการวิจัยของต่างประเทศพบว่า บรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เมื่อหยุดทำงานแล้วแทนที่จะปิดสวิตช์อย่างแท้จริง ก็เข้าสู่ Standby Mode แทน ซึ่งสภาวะเช่นนี้จำเป็นต้องมีกระแสไฟฟ้าจำนวนหนึ่งไหลผ่านวงจรในอุปกรณ์นั้นเพื่อคอยกระตุ้นให้อุปกรณ์นั้นพร้อมทำงานเสมอ (ไฟเลี้ยงวงจร) ผลการวิจัยพบว่าการบริโภคกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจมีผลทำให้ต้องเสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 2000 บาท ซึ่งนับเป็นปริมาณสูง ATX Power Supply ก็เช่นเดียวกันเมื่อปิดสวิตช์ทางด้านหน้าของคอมพิวเตอร์ ไม่ได้หมายความว่าสวิตช์หลักถูกปิดแล้วแต่คอมพิวเตอร์ จะเข้าสู่สภาวะ Stand By ดังนั้นควรพิจารณาว่าหากไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆก็ควรจะปิดสวิตช์หลัก (Main Switch) เสีย เพื่อ ประหยัด พลังงานไฟฟ้า

ประโยชน์จากภาคจ่ายไฟแบบ ATX มีดังต่อไปนี้

1. สามารถควบคุมการปิดเปิดสวิตช์ (Soft Power Off) คอมพิวเตอร์ผ่านซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ได้ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้คือ วินโดวส์ 95
2. ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคุณสมบัติ "OnNow" ที่ระบุไว้ใน Intel PC 97 โดยใช้สัญญาณควบคุมผ่านโมเด็มเพื่อเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ได้หรือกำหนดเวลาเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์จาก RTC (Real Time Clock) ได้
3. พัดลมของ ATX ถูกออกแบบช่วยให้การระบายอากาศภายในเคสดีขึ้น
4. การควบคุมแรงดันไฟฟ้าของ ATX ออกแบบให้มีการควบคุมได้จากเมนบอร์ดที่ใช้ Chipset รุ่นใหม่ ทำให้ลดอันตรายจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินแรงดัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น